สวัสดีครับ ชาว rpi
วันนี้จะแนะนำเรื่อง gpio ของ rpi กัน
gpio ย่อมาจาก general purpose input/output เรียกเป็นภาษาไทยง่ายๆว่า พอร์ตเอนกประสงค์
คือเราสามารถควบคุม คอนโทรลให้เป็น "1" หรือ "0" ได้ ตามใจชอบ โดยที่จะสามารถควบคุมได้แต่ละ pin เหมือนไมโครคอนโทรลเลอร์
สำหรับคนที่เล่นไมโครคอนโทรลเลอร์อยู่แล้ว จะต้องสนใจเรื่องนี้แน่นอน เนื่องจากสามารถนำไปต่อยอดได้หลายอย่าง เช่น นำ rpi ไปต่อกับจอ LCD หรือนำไปใช้เป็นตัวเปิด/ปิด สัญญาณต่างๆ
rpi มี gpio pin ทั้งหมด 26 pin(2x13) โดยใน pin เหล่านี้จะมีฟังก์ชันต่างๆ ติดมาด้วยได้แก่ SPI, I2C, serial UART, 3V3 และ 5V power.
ในการเล่นกับ gpio มีสิ่งที่ต้องพึงระมัดระวังให้มากเป็นพิเศษก็คือเรื่อง "การต่อสายสัญญาณ" เนื่องจาก gpio เหล่านี้ ใช้ไฟ 3.3 โวลต์ และทนแรงดันไฟฟ้าได้แค่ 3.3V เท่านั้น ดังนั้นถ้าหากใช้ไฟ 5 โวลต์ มาต่อเข้ากับ port นี้ก็จะพังทันที ไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป และไม่สามารถเปลี่ยน หรือ ซ่อมแซมได้
เราสามารถกำหนด gpio เหล่านี้ให้เป็น input หรือ output ก็ได้ กำหนดในแต่ละบิตได้เลย ซึ่งถือว่าเป็นจุดเด่นของเจ้า rpi ที่ทำให้เป็นที่นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลาย
และยังมีส่วนต่อขยาย (gertboard) ที่ติดต่อกับ cpu ได้โดยตรง ทำให้การเขียนโปรแกรมสะดวกสบายยิ่งขึ้น
เรามาดู pin กันดีกว่า ว่ามีขาอะไรกันบ้าง
นอกเหนือจากนี้ ยังมี gpio อื่นให้ใช้กันอีก คือ p2, p3 และ p5
ก็รู้จักกันแค่เล็กน้อยกันก่อนนะครับ ถ้าอยากรู้มากกว่านี้ ก็หาอ่านกันได้ ที่นี่ ครับ
ที่มา
http://elinux.org/RPi_Low-level_peripherals
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น